:
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทศบาลตำบลหนองใหญ่ // ติดต่อสอบถาม: โทรศัพท์ 043010524, 043010561

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลหนองใหญ่

1.1  สภาพทั่วไป สภาพทางเศรษฐกิจ และสภาพทางสังคม

           1.  สภาพทั่วไป  แยกได้ดังนี้คือ

      1.  ลักษณะที่ตั้ง ของตำบลหนองใหญ่ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองกุงศรี ประมาณ 9 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ 71 กิโลเมตร ที่ทำการเทศบาลตำบลหนองใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองชุมแสง หมู่ที่ 13

      2.  เนื้อที่ เทศบาลตำบลหนองใหญ่  อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ 61.09 ตร.กม.  หรือ 388,181.13 ไร่

      3.  ภูมิประเทศ เทศบาลตำบลหนองใหญ่ มีอาณาเขตดังนี้

              ทิศเหนือ  ติดตำบลโคกเครือ อำเภอหนองกุงศรี และตำบลกุงเก่า อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

              ทิศใต้  ติดต่อตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ 

              ทิศตะวันออก  ติดต่อตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

              ทิศตะวันตก  ติดต่อตำบลพิมูล อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์

                    ภูมิประเทศโดยทั่วไปของบ้านหนองใหญ่ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลระหว่างความสูง 190 - 230 เมตร เป็นพื้นที่สูงกว่า 230 เมตร อยู่ทางทิศเหนือของตำบล คิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 190 จะอยู่ทางทิศใต้ของตำบล คิดเป็นร้อยละ                                                    70 ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนตื้นเป็นลอนลาดสลับที่ราบสูง กระจายอยู่ทั่วไป ส่วนทิศตะวันออกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและเป็นคลื่นบางส่วน

      4.  จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลหนองใหญ่ มีทั้งหมดจำนวน 15 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 1  บ้านหนองบัวแดง หมู่ที่ 2  บ้านนามูล  หมู่ที่ 3  บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 4  บ้านหนองชุมแสง หมู่ที่ 5  บ้านนาคำน้อย หมู่ที่ 6  บ้านหนองชุมแสง หมู่ที่ 7  บ้านหนองชุมแสง  หมู่ที่ 8  บ้านนาคำน้อย หมู่ 9  บ้านนาคำน้อย หมู่ที่ 10  บ้านเอราวัณ หมู่ที่ 11  บ้านนาคลองแสน หมู่ที่ 12  บ้านหนองชุมแสง หมู่ที่ 13  บ้านหนองชุมแสง หมู่ที่ 14  บ้านนาคำน้อย หมู่ที่ 15  

      5.  ประชากร เทศบาลตำบลหนองใหญ่ มี 2,508 ครัวเรือน มีประชากร 7,950 คน แยกเป็นชาย 3,944 คน และหญิง 4,006 คน (ข้อมูลทะเบียนราฎร อ.หนองกุงศรี 4 ส.ค. 2565)

           2.  สภาพทางเศรษฐกิจ  แยกได้ดังนี้

      2.1 อาชีพ  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

      2.2 หน่วยธุรกิจ  มีปั๊มน้ำมัน 19 แห่ง  มีร้านค้า 50 แห่ง และมีโรงสีข้าวขนาดเล็ก 25 แห่ง

           3.  สภาพทางสังคม  แยกได้ดังนี้

      3.1 การศึกษา  มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง  มีโรงเรียนประถมศึกษา (รวมขยายโอกาส) 5 แห่ง มีโรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง  และมีที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 2 แห่ง

      3.2 สถาบันและองค์การทางศาสนา  มีวัด/สำนักสงฆ์  10  แห่ง

      3.3 ด้านสาธารณสุข  มีสถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 1 แห่ง

      3.4 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการจัดเวรยามรักษาความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้านและมีสายตรวจสำนักงานตำรวจแห่งชาติสอดส่องประจำ

           4.  การบริการพื้นฐาน  ได้แก่ 

      1.  การคมนาคม   มีทางหลวงแผ่นดิน 1 สาย ถนนลาดยาง 1 สาย ถนนลูกรังเชื่อมหมู่บ้าน 6 สาย

      2.  การโทรคมนาคม  มีโทรศัพท์สาธารณะ 41 แห่ง

      3.  การไฟฟ้า  มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน

      4. ลำน้ำธรรมชาติ  มีลำห้วยจำนวน 6 สาย ได้แก่ ห้วยลำหนองแสน ห้วยลึก ห้วยเดียก  ห้วยทราย  ห้วยเข บึง,หนอง 1 แห่ง (หนองใหญ่)  แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ ฝายน้ำล้น 14 แห่ง  สระน้ำ 11 แห่ง  บ่อบาดาล 23 บ่อ  ประปาส่วนภูมิภาค 1 แห่ง  และประปาหมู่บ้าน 14 แห่ง

 

1.2  สภาพปัญหา ความต้องการ นโยบายและศักยภาพ

           1.  สภาพปัญหา  

                1.1   ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน (ปัญหาคมนาคม)  น้ำไฟฟ้า ความปลอดภัย ยาเสพติด ได้แก่

                        1.1.1  การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านไม่ได้รับความสะดวก เนื่องจากว่าถนนบางเส้นทางเป็นลูกรัง

                        1.1.2  ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านบางส่วน เป็นถนนลูกรัง เนื่องจากการพัฒนายังไม่ทั่วถึง และงบประมาณไม่เพียงพอ

                        1.1.3  สิทธิที่ทำกินรวมทั้งที่บ้านยังขาดเอกสารสิทธิ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

                        1.1.4  บางส่วนยังขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้รวมทั้งภาชนะสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

                        1.1.5  แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขินงบประมาณยังไม่เพียงพอที่ใช้ ในการขุดลอก เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรการประปา

                1.2  ปัญหาคุณภาพชีวิต (ปัญหาด้านสุขภาพ  การศึกษา  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้แก่

                        1.2.2  ประชากรขาดความรู้ ทางด้านสาธารณสุข

                        1.2.3  ประชากรขาดความรู้ และมีความรู้ผิดๆ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

                1.3  ปัญหารายได้ประชาชน  (ปัญหาด้านการผลิตและการตลาด การอาชีพ) ได้แก่

                        1.3.1  ผลผลิตทางการเกษตรและราคาตกต่ำไม่คุ้มทุนการผลิต และไม่มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน

                        1.3.2  ประชาชนไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูการผลิต ทำให้ต้องอพยพไปทำงานต่างจังหวัด

                        1.3.3  สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพง ค่าครองชีพสูง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายในการครองชีพ

           2.  ความต้องการของประชาชน

                2.1  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  

                        2.1.1  ต้องการมีเอกสารสิทธิ์ในที่ทำกินของตนเอง เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ในการหาแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพเกษตรและอาชีพอื่นๆ

                        2.1.2  ต้องการมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกทั้งภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านให้ทั่วถึง

                    2.1.3  ต้องการมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรทั้งฤดูฝนและฤดูแล้งและกิจการประปา

                        2.1.4  ต้องการมีแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ให้เพียงพอตลอดทั้งปี

                        2.1.5  ต้องการซ่อมแซมถนนสายต่างๆ ภายในตำบลให้ทั่วถึง

               2.2  ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต  มีความต้องการดังนี้

                    2.2.1  มีบริการสาธารณสุขในหมู่บ้านครอบคลุมและต่อเนื่อง

                    2.2.2  มีการรณรงค์ตรวจรักษาโรคที่เป็นอันตรายต่อเนื่องทุกปี

                    2.2.3  อบรมและส่งเสริมการประกอบอาชีพเพื่อเสริมรายได้หลังฤดูการทำนา ทำไร่ พร้อมทั้งตลาดรองรับผลผลิต

                        2.2.4  สนับสนุน/ส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นให้กับเด็กเล็ก เยาวชนและประชาชน

                        2.2.5  ส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายโดยการสร้างลานกีฬาต้านยาเสพติด

           3.  ข้อมูลด้านศักยภาพของเทศบาลตำบล

               3.1.  บุคลากรของเทศบาลตำบล  จำนวน 33 คน แยกได้ดังนี้                                

               3.2.  รายได้ของเทศบาลตำบล ประจำปีงบประมาณ 2565 (ประมาณการรายรับ) จำนวน 55,067,351 บาท แยกเป็น

                   -  เงินรายได้จัดเก็บเอง                                                         1,988,000 บาท

                   -  รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บ แล้วจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น           18,172,600 บาท

                   -  รายได้ที่รัฐบาลอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                        34,366,751 บาท

               3.3.  ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่  

                   1.  สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มนาดอน เหมาะแก่การเพาะปลูก พืชทางการเกษตรกรรม ทำไร่,ทำนา

                   2.  แหล่งท่องเที่ยว และทรัพยากรธรรมชาติ ยังไม่สามารถนำมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการอุตสาหกรรมได้

                   3.  มีกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสตรี กลุ่มสวัสดิการชุมชน ฯลฯ

1.3  แนวทางการพัฒนา

           แนวทางการพัฒนาของ เทศบาลตำบลหนองใหญ่ ได้แก่ การกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ และการลำดับความสำคัญของโครงการ ดังนี้

           1.  นโยบาย

               1.1  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ 

                   1.1.1  พัฒนาและปรับปรุงถนนการคมนาคม  ภายในและระหว่างหมู่บ้านให้สามารถติดต่อสัญจรอย่างสะดวก

                   1.1.2  ปรับปรุงและจัดให้มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและกิจการประปาให้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน

                   1.1.3  ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการจัดทำเอกสารสิทธิ์ให้กับราษฎรมีสิทธิในที่ทำกินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

                   1.1.4  จัดให้มีการปรับปรุง ขยายเขตบริการไฟฟ้า ไฟแสงสว่าง  ให้สามารถบริการได้อย่างเพียงพอ

               1.2  ด้านคุณภาพชีวิตและการสาธารณสุข ได้แก่

                   1.2.1  ส่งเสริมให้เด็กที่มีการศึกษาภาคบังคับให้ได้มีโอกาสศึกษาต่อและฝึกอบรมด้านวิชาชีพ

                   1.2.2  ส่งเสริมสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขในระดับหมู่บ้าน ตามรูปแบบการสาธารณสุขมูลฐาน

                   1.2.3  ให้ประชาชนทุกหลังคาเรือนส้วมใช้เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

                   1.2.4  ส่งเสริมให้มีการใช้เกลือและสารไอโอดีนทุกหลังคาเรือน เพื่อพัฒนาการสมวัย

                   1.2.5  มีการจัดการด้านขยะมูลฝอย ให้ถูกสุขลักษณะ

               1.3  ด้านการประกอบอาชีพเสริม หรืออุตสาหกรรม และพัฒนาการหัตกรรมในครัวเรือน พร้อมทั้งจัดหาตลาดรองรับผลผลิต ได้แก่

                   1.3.1  ส่งเสริมการประกอบอาชีพเลี้ยง ไก่- สุกร-โค-กระบือ  ไว้ใช้บริโภคและใช้งานการเกษตรและเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

                   1.3.2  ส่งเสริมให้มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มราคาผลิตผลโดยจัดหาตลาดและวิทยากรอบรมให้ความรู้

                   1.3.3  ส่งเสริมให้มีการประกอบไร่นาสวนผสม โคก หนอง นา โมเดล เพื่อลดอัตราเสี่ยงในการขาดทุนและตลาดที่จะรองรับผลผลิต

               1.4  ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ได้แก่

                   1.4.1 พัฒนาและปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติสภาพแวดล้อมให้เป็นสถานที่พักผ่อน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

                   1.4.2  ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนพรรษาและประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น

                   1.4.3  ส่งเสริมการปลูกป่าบริเวณที่สาธารณประโยชน์และตามสองข้างถนน หัวไร่ ปลายนา เพื่อเพิ่มพื้นที่ของป่าไม้

               1.5  ด้านการพัฒนาและปรับปรุงสำนักงานเทศบาลตำบล ได้แก่ 

                   1.5.1  ปรับปรุงสำนักงานเทศบาลตำบลหนองใหญ่ เพื่อรองรับการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

                   1.5.2  ปรับปรุงการบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวกและรวดเร็วประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากร

                   1.5.3  เร่งรัด/จัดทำแผนภาษี เพื่อให้สามารถบริการประชาชนและเป็นการเพิ่มรายได้ของเทศบาลตำบล

                   1.5.4  ก่อสร้างอาคาร สำนักงานเทศบาลตำบลหนองใหญ่ แห่งใหม่ บ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองใหญ่ อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

 

           2.  วัตถุประสงค์ 

               2.1  เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่และมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น

               2.2  เพื่อพัฒนาคนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศชาติให้คุณภาพและมีสุขภาพถ้วนหน้า สามารถพึ่งตนเอง ทางด้านสาธารณสุขตามวิธีการสาธารณสุขมูลฐานได้

               2.3  เพื่อเพิ่มผลผลิตรายได้ และ การมีงานทำ ลดปัญหาการอพยพไปทำงานต่างจังหวัด

               2.4  เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรมที่ดีให้คงอยู่ต่อไป

               2.5  เพื่อรองรับการให้การบริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

           3.  ลำดับความสำคัญ

               3.1  การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านและภายในหมู่บ้าน ไม่สะดวกเนื่องจากผิวจราจรชำรุดและถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ

               3.2  การขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

               3.3  แหล่งน้ำอุปโภค บริโภคในพื้นที่ไม่เพียงพอตลอดทั้งปี 

               3.4  ผลผลิตทางการเกษตร ราคาตกต่ำไม่คุ้มทุนการผลิต และไม่มีตลาดรองรับ

               3.5  การให้ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อบริการสาธารณสุขในหมู่บ้าน

               3.6  ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน  เช่น  ขยายเขตน้ำประปา ไฟฟ้า ยังไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือน

 

การวิเคราะห์ศักยภาพของเทศบาลตำบลหนองใหญ่ (SWOT Analysis)

           1. จุดแข็ง (Strength)  มีดังนี้คือ

               1.1  มีเนื้อที่ประมาณ 61.09 ตร.กม.  หรือ 388,181.13 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง และเลี้ยงโค เป็นต้น   

               1.2  มีหนองน้ำขนาดใหญ่ ชื่อว่า “หนองใหญ่” ซึ่งใช้เก็บกักน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี โดยสามารถนำไปทำน้ำประปา เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภคภายในเขตอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จนไปถึงอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น    

               1.3  มีแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ หนองใหญ่ วัดถ้ำงูจงอาง วัดถ้ำน้ำหยาด วัดถ้ำวิมารเจีย ฯลฯ  

               1.4  มีสถานศึกษาครอบคลุมทุกระดับ ได้แก่ การศึกษาระดับปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย     

               1.5 มีทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าไม้แหล่งดงมูล และมีการขุดพบก๊าซธรรมชาติในเขตตำบลหนองใหญ่ ตำบลดงมูล   

           2. จุดอ่อน (Weakness) มีดังนี้คือ

               2.1  ผลผลติทางการเกษตรส่วนใหญ่ จำหน่ายเป็นวัตถุดิบ ขาดคุณภาพ ทำให้ได้ราคาต่ำ ขาดการรวมกลุ่ม เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจต่อรอง  

               2.2  ขาดแคลนระบบชลประทาน ในการทำการเกษตร ยังไม่ทั่วถึง เกษตรกรต้องอาศัยน้ำจากฤดูฝน และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

               2.3  ระบบสารสนเทศยังไม่สมบูรณ์ และครอบคลุมในการสนับสนุนการเพิ่มทักษะเทคโนโลยีการจัดการสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่า ให้เป็นที่ต้องการของตลาด  

               2.4  แรงงานในภาคการเกษตรมีไม่เพียงพอ และภาคการเกษตรเริ่มขาดแคลนเกษตรกรรุ่นใหม่ๆ ในการสืบทอดในการทำอาชีพ  

               2.5  การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงการเกษตร ยังขาดการส่งเสริมจากภาครัฐ เนื่องจากขาดงบประมาณในการลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในแหล่งใหม่ๆ  

               2.6  ปัญหาทางสังคม ทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น ปัญหายาเสพติดระบาดในกลุ่มเยาวชน ปัญหาเด็กวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาการพนัน ปัญหาประชาชนมีรายได้น้อย มีหนี้สิน ปัญหาขยะในชุมชน เป็นต้น  

           3.  โอกาส (Opportunity) มีดังนี้คือ 

               3.1  รัฐบาลได้สนับสนุนให้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้

               3.2  นโยบายของรัฐบาล ที่ส่งเสริมการผลิตสินค้าการเกษตรอย่างต่อเนื่อง  

               3.3  รัฐบาล ยังสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

               3.4  รัฐบาล ยังสนับสนุนการผลิตสินค้าชุมชน (OTOP)

               3.5  รัฐบาล มีนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกร และชาวบ้านที่ยากจน

                3.6  มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ให้ชาวบ้านนำไปประยุกต์ใช้

               3.7  ชาวบ้านมีครอบครัวที่เข้มแข็ง 

           4. อุปสรรคหรือภัยคุกคาม  (Threat) มีดังนี้คือ  

               4.1  ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ความยากจน ยาเสพติด อาชญากรรม บ่อนการพนัน ปัญหาสุขภาพของประชาชน เป็นต้น

               4.2  ภัยธรรมชาติ ได้แก่ ภัยหนาว ทำให้ประชาชนเจ็บป่วย, ภัยแล้ง ทำให้เกษตร เพาะปลูกพืชลำบาก เนื่องจากไม่มีน้ำใช้,วาตภัย ทำให้ทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย,โรคระบาดในคนและสัตว์

               4.3  สภาพเศรษฐกิจของโลก ที่อยู่ในภาวะถดถอย ทำให้การส่งออกลดลง ประชาชนจับจ่ายใช้สอย ลดลง 

               4.4  อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ เริ่มเข้ามาทำลายวัฒนธรรมท้องถิ่น 

               4.5 การเมืองระดับชาติ มีผลต่อการพัฒนาประเทศ