:
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทศบาลตำบลหนองใหญ่ // ติดต่อสอบถาม: โทรศัพท์ 043010524, 043010561

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา

๑. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหาภาค 

     ๑.๑ แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ 2561-2580)

           ๑. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 

           ๒. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 

           ๓. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 

           ๔. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 

           ๕. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

           ๖. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

๑.๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑3 (พ.ศ. 2566-2570)

กลยุทธ์ที่ 1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า เพื่อให้เกิดการยกระดับกระบวนการผลิตและ สร้างมูลค่าเพิ่ม 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 1.1 สนับสนุนการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตและแปรรูปแบบมุ่งเป้า โดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการนำงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของตลาด 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 1.2 ส่งเสริมและขยายผลงานวิจัยจากหน่วยงานวิจัย มหาวิทยาลัยและสถาบัน อาชีวศึกษา ภาคเอกชน และองค์กรเกษตรกรที่มีส่วนในการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการใช้ ประโยชน์จากผลงานวิจัยและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้พัฒนาเทคโนโลยีและผู้ใช้งาน 

กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมการผลิตและการขยายตัวของตลาดสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ ผลผลิตเกษตรปลอดภัย สมุนไพรแปรรูป อาหารทางการแพทย์อาหารทางเลือก อาหาร ฟังก์ชัน พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ โปรตีนจากพืชและแมลง 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 2.1 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและทำธุรกิจผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปมูลค่าเพิ่มสูง ที่มีศักยภาพทางการตลาดในอนาคต โดยให้มีการจัดทำแผนที่น าทางสำหรับการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ เกษตรแปรรูปมูลค่าเพิ่มสูงรายผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และ มีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้มีการพัฒนาและจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ สาขาเกษตรแปรรูป 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 2.2 ก าหนดแผนที่นำทางในการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตร ของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตภาคเกษตร และผลพลอยได้อื่น อาทิ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ วัคซีน สารชีวภัณฑ์ คาร์บอนเครดิต และคาร์บอนซิงก์ รวมถึงการผลักดันไปสู่ การปฏิบัติ

           กลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 ส่งเสริมให้เกษตรกรประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมกระบวนการ ผลิตที่หลากหลาย และคลังข้อมูลที่เกี่ยวกับการเกษตร รวมถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ในการวิเคราะห์ วางแผน พัฒนาผลผลิตและประสิทธิภาพการผลิต แปรรูปสินค้าเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต ที่สอดคล้องกับศักยภาพ ของพื้นที่และความต้องการของตลาด

           กลยุทธ์ย่อยที่ 2.4 ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ไปสู่การผลิต สินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูง 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 2.5 รณรงค์ และส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีการตระหนัก เลือกใช้ และบริโภคสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูปที่ปลอดภัย มีคุณภาพสูง และได้มาตรฐาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดตลาดสินค้าคุณภาพในวงกว้างอย่างทั่วถึง 

          กลยุทธ์ย่อย 2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการมีการใช้สินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป ที่ได้คุณภาพ อาทิ ผลผลิตจากการเกษตรสำหรับใช้ในโรงพยาบาล โรงเรียน และเรือนจ า อาหารทางการแพทย์ 32 

กลยุทธ์ที่ 3 การขยายผลรูปแบบเกษตรยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีมูลค่าเพิ่มสูงจากแบบอย่าง ความสำเร็จในประเทศ เช่น เกษตรตามโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เกษตรปลอดภัย สวนเกษตร เกษตรอินทรีย์ ท่องเที่ยวเกษตร ประมงพื้นบ้าน การท าประมงถูกกฎหมาย และการปฏิบัติต่อแรงงาน ที่ถูกต้อง เป็นต้น

           กลยุทธ์ย่อยที่ 3.1 ส่งเสริมการทำเกษตรยั่งยืนที่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน ผ่านการด าเนินการปกป้อง จัดการอย่างยั่งยืน และฟื้นฟูธรรมชาติหรือระบบนิเวศ ที่เปลี่ยนไป เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ และเป็นประโยชน์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ การปลูกป่า เศรษฐกิจ การทำวนเกษตร การลดการเผาตอซัง การทำประมงถูกกฎหมาย และการปฏิบัติต่อแรงงานที่ถูกต้อง          กลยุทธ์ย่อยที่ 3.2 สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็น เพื่อให้เกิดการขยายผลรูปแบบเกษตรกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ สารชีวภัณฑ์ ปุ๋ยชีวภาพ พร้อมทั้งให้มีการจัดเก็บข้อมูลปริมาณ การผลิตและการใช้สารชีวภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 3.3 จัดให้มีการบริหาร อนุรักษ์ เพาะพันธุ์ เพาะเลี้ยง พันธุ์พืชเฉพาะถิ่น สัตว์น้ำ และ ปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรตามธรรมชาติ 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 3.4 ขยายผลแบบอย่างความสำเร็จในการบริหารจัดการเพื่อผลิตสินค้าเกษตร ให้สอดคล้องกับทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ าเพื่อการเกษตรให้มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งการใช้น้ำซ้ำ

          กลยุทธ์ย่อยที่ 4.1 ส่งเสริมและผลักดันการเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ/ป่าเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช รวมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำตามธรรมชาติให้มีน้ าเพียงพอต่อการใช้ทั้งระบบ       กลยุทธ์ย่อยที่ 4.2 เร่งพัฒนาและฟื้นฟูระบบชลประทานและการกระจายน้ำในพื้นที่เขตชลประทาน พร้อมทั้งพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน รวมถึงแหล่งน้ำชุมชน ตลอดจนการจัดการตะกอน ที่เหมาะสม โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มแหล่งเก็บ กักน้ำให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           กลยุทธ์ย่อยที่ 4.3 ดำเนินการให้มีการจัดการตะกอนอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การมีระบบดักตะกอน การลดการชะล้างพังทลายของตะกอนในลำน้ำด้วยการปลูกพืชคลุมดินหรือพืชป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง เพื่อเพิ่ม ปริมาณและแหล่งเก็บกักน้ำให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 4.4 บริหารจัดการและวางแผนการใช้น้ำอย่างเป็นระบบและสมดุล ตลอดจนพัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำที่มีประสิทธิภาพ อาทิ การใช้น้ำซ้ำ 

กลยุทธ์ที่ 5 การส่งเสริมให้เอกชนลงทุนพัฒนาตลาดกลางและตลาดออนไลน์สินค้าเกษตร รวมถึงสินค้า กลุ่มปศุสัตว์และประมง 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 5.1 พัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อและจูงใจให้เอกชนลงทุนและพัฒนาตลาดกลาง ภูมิภาค/ตลาดในชุมชน 33 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 5.2 ผลักดันให้มีการจัดเก็บข้อมูลราคาสินค้าเกษตรเปรียบเทียบระหว่างตลาดภูมิภาค และตลาดส่วนกลางอย่างต่อเนื่อง 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 5.3 พัฒนาความรู้และทักษะให้เกษตรกรสามารถซื้อขายผลผลิตผ่านตลาดออนไลน์ สินค้าเกษตร เช่น พืช ประมง และปศุสัตว์ เป็นต้น 

กลยุทธ์ที่ 6 การสนับสนุนระบบประกันภัยและรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตร แปรรูปที่เกษตรกรเข้าถึงได้

           กลยุทธ์ย่อยที่ 6.1 เพิ่มประสิทธิภาพของระบบประกันภัยสินค้าเกษตรให้มีความหลากหลายและ เหมาะสมกับรูปแบบการผลิตสินค้าเกษตร 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 6.2 ด าเนินการให้มีการปรับลดต้นทุนการทำธุรกรรมของเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับ การขอรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงและจูงใจให้เกษตรกรมีการผลิต สินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 6.3 สนับสนุนบทบาทของเอกชนในการเชื่อมโยงผลผลิตของเกษตรกรที่ได้มาตรฐาน เพื่อเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรสร้างมูลค่า 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 6.4 เจรจาหรือทำข้อตกลงให้มาตรฐานสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยเป็น ที่ยอมรับในต่างประเทศ 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 6.5 เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ รวมถึงกระบวนการทดสอบ คุณภาพที่จำเป็น สำหรับการพัฒนาสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง

กลยุทธ์ที่ 7 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มและกิจกรรมหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อลดต้นทุนและ เพิ่มมูลค่าผลผลิตของเกษตรกร 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 7.1 สนับสนุนบทบาทสถาบันเกษตรกร (สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน) ในฐานะหน่วยธุรกิจของเกษตรกร ให้ทำหน้าที่สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์ม กิจกรรม หลังการเก็บเกี่ยว และกระบวนการนำส่งผลผลิตจนถึงลูกค้าปลายทาง เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต ของเกษตรกร   

          กลยุทธ์ย่อยที่ 7.2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการรวบรวมและขนส่ง สินค้าเกษตร เพื่อเชื่อมโยงผลผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 7.3 พัฒนาให้มีการจัดเก็บข้อมูลความสูญเสียในกระบวนการผลิตของภาคเกษตร เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับการวัดในอนาคต 34 

กลยุทธ์ที่ 8 การส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ดินท ากินและรักษาพื้นที่เกษตรกรรมที่เหมาะสมไว้เป็นฐานการผลิต การเกษตร 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 8.1 สนับสนุนและส่งเสริมการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ผ่านกลไกที่มีอยู่ อาทิ การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล และการจัดสรรที่ดินของสำนักงานการปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

          กลยุทธ์ย่อยที่ 8.2 คุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพและขยายโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่ทำกิน ของเกษตรกรให้มากขึ้น รวมถึงการกำหนดเขตการใช้พื้นที่ทำการเกษตรที่เหมาะสม 

กลยุทธ์ที่ 9 การพัฒนาฐานข้อมูลและคลังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร รวมทั้งผลักดันให้มีการใช้ข้อมูล อย่างมีประสิทธิภาพ 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 9.1 พัฒนาระบบคลังข้อมูลด้านเกษตรให้เชื่อมโยงกัน และเป็นข้อมูลเปิด เพื่อเป็นฐาน สำหรับนำไปใช้งานประยุกต์ต่อยอดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรและการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ (1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ (อาทิ น้ำ ดิน ป่า ทะเล) (2) ด้านการเกษตร เช่น ความเหมาะสมของพื้นที่ในการผลิตสินค้าเกษตร ทะเบียนเกษตรกร เป็นต้น (3) ด้านการตลาดสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ อาทิ แนวโน้มราคาสินค้าเกษตร แหล่งรับซื้อ และ (4) ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 9.2 พัฒนาแพลตฟอร์มและแอพพลิเคชั่นสำหรับการเข้าถึงคลังข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้มี การใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรในการจำแนกรูปแบบการผลิตและสมรรถนะของเกษตรกร เพื่อให้การจัดทำแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาภาคเกษตร รวมถึงมาตรการต่าง ๆ มีความเหมาะสมกับสมรรถนะเกษตรกรและ ศักยภาพของพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน 

กลยุทธ์ที่ 10 การพัฒนาให้เกิดระบบการบริหารจัดการเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 10.1 ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถเข้าถึงความมั่นคงทางอาหารทั้งด้านปริมาณและ โภชนาการที่ครบถ้วน รวมถึงระบบสำรองอาหาร ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ปลอดภัย เพียงพอ และสนับสนุนให้ เกิดพื้นที่ต้นแบบด้านการสำรองอาหารของชุมชน 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 10.2 เตรียมการบริหารจัดการการกระจายสินค้าเกษตรและอาหารในภาวะวิกฤต กลยุทธ์ที่ 11 การยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

          กลยุทธ์ย่อยที่ 11.1 พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และทักษะในการบริหารจัดการฟาร์ม ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของเกษตรกร และการดำเนินธุรกิจการเกษตรในยุคดิจิทัล เพื่อยกระดับความสามารถเกษตรกร ไปสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนากระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการของตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

          กลยุทธ์ย่อยที่ 11.2 ยกระดับความเข้มแข็งและความสามารถในการดำเนินธุรกิจเพิ่มมูลค่าของ สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสนับสนุนบทบาทภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา ทั้งระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษาในพื้นที่ ในการเป็นผู้ให้บริการ ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี และที่ปรึกษาทางธุรกิจ 35 เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล องค์ความรู้ และเทคโนโลยีกับการปรับเปลี่ยนและต่อยอดธุรกิจการเกษตรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

          กลยุทธ์ย่อยที่ 11.3 ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการพัฒนาสหกรณ์ให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงและเอื้อต่อการสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์อาทิ ปรับปรุงระบบการจัดทำบัญชีและการ ตรวจสอบทางการเงินให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และเป็นอิสระ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ทัน สถานการณ์ และสร้างความเชื่อมั่นของสมาชิกและประชาชนต่อระบบสหกรณ์ 

กลยุทธ์ที่ 12 การพัฒนากลไกเพื่อเชื่อมโยงภาคีต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ส่วนราชการ กลุ่มเกษตรกร และ นักวิชาการในพื้นที่ ในการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในการพัฒนาภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 12.1 สนับสนุนบทบาทองค์กรหรือสภาเกษตรกรในกลไกความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการในแต่ละจังหวัด เพื่อเชื่อมโยงการผลิตของเกษตรกรและการดำเนินธุรกิจการเกษตร ของสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ ความต้องการของภาคเอกชนในระดับจังหวัด การดำเนินภารกิจของส่วนราชการระดับจังหวัด และความเชี่ยวชาญของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการแบ่งปันข้อมูล องค์ความรู้ ทักษะ และผลประโยชน์อย่าง เท่าเทียมและเหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ 

          กลยุทธ์ย่อยที่ 12.2 ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับสถาบันเกษตรกร และเกษตรกรในรูปแบบธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการยกระดับประสิทธิภาพกระบวนการผลิตให้ มีความสอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

๑.๓ แผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ.2566-2570)

             เป้าหมายการพัฒนา ประเด็นการพัฒนา แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัด 

1. เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์

          จังหวัดกาฬสินธุ์ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ในห้วงระยะเวลา พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อใช้

เป็นกรอบแนวทางของการพัฒนาจังหวัด ภายใต้ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ศักยภาพ บริบทของการพัฒนาที่ผ่าน

มาและในอนาคต รวมทั้งสภาพของปัญหาและความต้องการของประชาชน โดยมีเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์

ดังนี้

“มั่งคั่งด้วยเกษตรปลอดภัย ท่องเที่ยววิถีใหม่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

๒. พันธกิจ

          ๑) ผลักดันให้จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นแหล่งผลิต แปรรูป อาหารปลอดภัยแบบครบวงจร โดยเน้นการพัฒนา

การผลิตข้าว GAP ข้าวอินทรีย์ ข้าว GI

          ๒) เพิ่มศักยภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจ (ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย) โดยเน้นกระบวนการผลิต การแปรรูปและการส่งออกเพื่อเพิ่มมูลค่า

          ๓) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเน้นการใช้นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้ได้มาตรฐานและแข่งขันได้

          ๔) พัฒนาศักยภาพของจังหวัด ทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค กระบวนการจัดการด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพระบบสาธารณสุข เพื่อก้าวไปสู่การเป็นเมือง น่าอาศัย น่าท่องเที่ยว และน่าลงทุน

          ๕) ส่งเสริมการบริหารจัดการภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

          ๖) สร้างสังคมแห่งความมั่นคงและปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

๓. ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด

 เป้าประสงค์

ประชาชนในจังหวัด

กาฬสินธุ์มีรายได้สูงขึ้น

ประชาชนในจังหวัด

กาฬสินธุ์มีรายได้สูงกว่า

เส้นความยากจน
ตัวชี้วัด (KPI)

ผลิตภัณฑ์มวลรวม

เฉลี่ยต่อคนต่อปี

เพิ่มสูงขึ้น

ร้อยละของ

ประชากรที่อยู่ใต้

เส้นความยากจน

(สัดส่วนคนจน)
ฐานข้อมูลอ้างอิง

 

73,587

บาท/คน/ปี

 

ร้อยละ 20.21
ค่าเป้าหมาย
2566

 ร้อยละ 3

82,785

 

ร้อยละ 4.5

7.71
2567

ร้อยละ 3

85,269

ร้อยละ 4.5

2.71
2568

ร้อยละ 3

87,287

0
2569

ร้อยละ 3

89,906

0.00
2570

ร้อยละ 3

92,603

0.009

๔. ประเด็นการพัฒนาจังหวัด

               จังหวัดกาฬสินธุ์ได้กำหนดประเด็นการพัฒนา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนารวม 4 ประเด็นการพัฒนา รายละเอียด ดังนี้

ประเด็นการพัฒนาที่ 1 พัฒนาศักยภาพที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย

๑) เป้าประสงค์

               1.1 เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและรายได้ภาคการเกษตรของจังหวัด

               1.2 เพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารปลอดภัยของจังหวัด

โครงการในประเด็นการพัฒนา

               1. โครงการยกระดับมาตรฐานกาฬสินธุ์กรีนมารเก็ตสู่เกษตรอินทรีย์

               2. โครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์

               3. โครงการผลิตสินค้าประมงปลอดภัยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

               4. โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามปลอดภัย

               5. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อ จังหวัดกาฬสินธุ์

2) ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

เป้าประสงค์

รายได้ภาคการเกษตร

ของจังหวัดเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด (KPI)

ผลิตภัณฑ์มวลรวจังหวัด

ด้านการเกษตรเพิ่มขึ้น
ฐานข้อมูลอ้างอิง

13,5523ล้านบาท
ค่าเป้าหมาย (Target)
2566

ร้อยละ 3

15,774
2567

ร้อยละ 3

16,247
2568

ร้อยละ 3

16,734
2569

ร้อยละ 3

17,236
2570

ร้อยละ 3

17,753
  

3) แนวทางการพัฒนา

           แนวทางการพัฒนาที่ 1 การบริหารจัดการพื้นที่เกษตร และส่งเสริมให้เกษตรกรดั้งเดิมพัฒนา สู่เกษตร

สมัยใหม่รองรับกิจกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัย

              1.1 การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรเป้าหมาย

              1.๒ การบริหารจัดการการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร (Zoning)

              1.๓ การเตรียมพื้นที่เพาะปลูกและปรับปรุงดิน

              1.๔ การสร้างองค์ความรู้/ขีดความสามารถ/อาชีพให้เกษตรกร/แรงงาน

           แนวทางการพัฒนาที่ 2 การวิจัยและพัฒนาวิธีการผลิต แปรรูป การบรรจุ มาตรฐานการผลิตและความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ให้มีคุณภาพระดับสูง เพื่อการส่งออกและรองรับตลาดสมัยใหม่

           2.1 การวิจัยการผลิตแปรรูปคุณภาพสูง

           2.๒ การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและการรับรองคุณภาพ

           2.๓ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์/การสร้างและพัฒนาแบรนด์

           2.๔ ระบบเกษตรปลอดวัสดุเหลือใช้ (Zero Waste)

           2.๕ การพัฒนาระบบคัดและบรรจุและตรวจสอบความปลอดภัย

           2.๖ การเพิ่มผลิตภาพแรงงานเกษตร

           แนวทางการพัฒนาที่ 3 ส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจ/สหกรณ์/ผู้ประกอบการใหม่ เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการและระบบบัญชี เพื่อดำเนินกิจกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัย

           3.1 สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร

           3.2 การสร้างองค์ความรู้/ขีดความสามารถ/อาชีพให้เกษตรกร/แรงงาน

           3.3 การพัฒนาธุรกิจ ระบบบัญชี และการบริหารต้นทุน

           แนวทางการพัฒนาที่ 4 การบริหารจัดการสินค้าเกษตร พัฒนาและเสริมประสิทธิภาพระบบกระจาย

สินค้า และการตลาดครบวงจร

           4.1 พัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านการขนส่งและกระจายสินค้า

           4.2 การพัฒนาธุรกิจการจัดการศูนย์กระจายสินค้า และการขนส่งสินค้า

           4.3 พัฒนาระบบห้องเย็น

           4.4 การพัฒนาตลาดกลาง สินค้าพัฒนา ระบบค้าส่ง เชื่อมโยงโดยตรงกับผู้ซื้อ

และการตลาดสมัยใหม่

           4.5 การวิเคราะห์สินค้าและความต้องการของตลาด (Intelligence) การกระตุ้นการ

บริโภคและการประชาสัมพันธ์

           4.7 จุดจำหน่ายสินค้า

ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ยกระดับคุณภาพและรายได้ด้านการท่องเที่ยว และส่งเสริมการค้า การลงทุน

                             และอุตสาหกรรมอาหารปลอดภัย

1) เป้าประสงค์

           1.1 ยกระดับคุณภาพและเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว

           1.2 เพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์ OTOP

โครงการในประเด็นการพัฒนา

           1. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการท่องเที่ยว และเชื่อมโยงโครงข่ายถนนสายหลัก

           2. โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์

           3. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

           4. โครงการยกระดับคุณภาพอาหารแปรรูปจากผลิตผลทางการเกษตร

เส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดกาฬสินธุ์

           ๑. เส้นทางท่องเที่ยวทวารวดี เนื้อเรื่องเกี่ยวกับนางฟ้าหยาด Landmark กาฬสินธุ์

           ๒. เส้นทางไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

           ๓. เส้นทางแพรวากาฬสินธุ์

           ๔. เส้นทางผักปลอดสารอาหารปลอดภัย

           ๕. เส้นทางตามรอยเท้าพ่อ

           ๖. เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

2) ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

เป้าประสงค์
ตัวชี้วัด (KPI)
ฐานข้อมูล

อ้างอิง
ค่าเป้าหมาย (Target)
2561
2562
2563
2564
2565
ยกระดับคุณภาพ

และเพิ่มรายได้

จากการท่องเที่ยว

เพิ่มรายได้

ผลิตภัณฑ์ OTOP

รายได้จากการ

ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

รายได้จากการ

จำหน่ายสินค้า

OTOPเพิ่มขึ้น
1,087.87

ล้านบาท

3,980.49

ล้านบาท
ร้อยละ 10

1,196.66
ร้อยละ 10

1,316.32

4,896.00
ร้อยละ 10

1,447.95

ร้อยละ 23

6,022.08
ร้อยละ 10

1,592.75

ร้อยละ 23

7,407.16
ร้อยละ 10

1,752.03

ร้อยละ 23

9,110.81
3) แนวทางการพัฒนา

           แนวทางการพัฒนาที่ 1 พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวหลัก ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งท่องเที่ยว ชุมชน ท่องเที่ยวกิจกรรมการท่องเที่ยว สินค้าทางการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ และยกระดับภาพลักษณ์ในเชิงคุณภาพ

           1.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยว

           1.2 พัฒนาศักยภาพบุคลากร/ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวมาตรฐานมัคคุเทศก์/ผู้นำเที่ยว

           1.3 พัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านท่องเที่ยวและบริการพัฒนาและปรับปรุงระบบ

สาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้าการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนการจัดการปัญหาจากการท่องเที่ยว เช่น สิ่งปฏิกูล ขยะและมลภาวะ

           1.4 พัฒนาแหล่งและกิจกรรมท่องเที่ยวสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวรูปแบบพัฒนามาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวยกระดับคุณภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ท่องเที่ยว

           1.5 พัฒนาธุรกิจบริการการท่องเที่ยวการรับรองมาตรฐานที่พักและโรงแรมพัฒนามาตรฐานธุรกิจบริการที่เกี่ยว เนื่องกับการท่องเที่ยวพัฒนามาตรฐานสินค้าของฝากและของที่ระลึก และพัฒนามาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว

           1.6 พัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์การทำการตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ การยกระดับภาพลักษณ์ในเชิงคุณภาพ

           1.7 การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาจังหวัดการยกระดับภาพลักษณ์ในเชิงคุณภาพ

           แนวทางการพัฒนาที่ ๒ พัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

และการเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีให้มีคุณภาพระดับสูง

เพื่อการส่งออก และรองรับตลาดสมัยใหม่

           2.1 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการผลิตพัฒนาบรรจุภัณฑ์

           2.2 การให้การรับรองมาตรฐาน

           2.3 พัฒนาศักยภาพบุคลากร และการให้ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนา

ธุรกิจ ระบบบัญชี และการบริหารต้นทุน

           2.4 พัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์ การทำการตลาดสินค้า OTOP คุณภาพใน

ตลาดสมัยใหม่การยกระดับภาพลักษณ์ในเชิงคุณภาพ

           แนวทางการพัฒนาที่ ๓ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาระบบโลจิสติกส์ ส่งเสริมการลงทุน

และอุตสาหกรรมด้านการเกษตรและอาหารปลอดภัย

           3.1 ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ที่เพิ่มขีดความสามารถทางการ แข่งขัน

ของจังหวัด

           3.2 ส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารปลอดภัย

           3.2 ส่งเสริมสนับสนุนและการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SME

ประเด็นการพัฒนาที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าประสงค์

1.1 เพิ่มพื้นที่การกระจายน้ำเพื่อการเกษตร

1.2 ปริมาณขยะต้นทางลดลงและได้รับการจัดการถูกต้องตามหลักวิชาการ

๑.๓ เพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการในประเด็นการพัฒนา

๑. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและเพิ่มพื้นที่การกระจายน้ำ

๒. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้

๓. พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพดิน

ค่าเป้าหมาย (Tarket)
เพิ่มพื้นที่การ

กระจายน้ำเพื่อ

การเกษตร

เพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็น

มิตรต่อสิ่งแวดล้อมพื้นที่ได้รับการ

สนับสนุนแหล่งน้ำ

เพิ่มขึ้น

พื้นที่สีเขียวใน

จังหวัดเพิ่มขึ้น
บ่อบาดาลเพื่อ

การเกษตร

500 ไร่

2,000
500 ไร่

2,000 ไร่
500 ไร่

2,000 ไร่
500 ไร่

2,000 ไร่
500 ไร่

2,000 ไร่
500 ไร่

2,000 ไร่
 

3) แนวทางการพัฒนา

           แนวทางการพัฒนาที่ ๑ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและเพิ่มพื้นที่กระกระจายน้ำ รองรับกิจกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัย

           ๑.๑ เพิ่มพื้นที่กระจายน้ำเพื่อรองรับกิจกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัย

           ๑.๒ พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรเพื่อรองรับกิจกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัย

           ๑.๓ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและเกษตรปลอดภัย

           แนวทางการพัฒนาที่ ๒ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการดิน และส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในทุกภาคส่วน

           ๒.๑ พัฒนาคุณภาพดินให้มีความเหมาะสมต่อกิจกรรมเกษตรและอาหารปลอดภัย

           ๒.๒ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

           แนวทางการพัฒนาที่ ๓ การบริหารจัดการขยะที่เหมาะสม และสร้างวินัยของคนสู่การจัดการที่ยั่งยืน

           ๓.๑ ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

           ๓.๒ ลดขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

ประเด็นการพัฒนาที่ 4 การพัฒนาทุนมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมที่มีความมั่นคงและสงบสุข

1) เป้าประสงค์

           1.1 ประชากรของจังหวัดได้รับการพัฒนาทุนมนุษย์ในทุกช่วงวัย

           ๑.๒ ประชาชนมีความปลอดภัยเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน

โครงการสำคัญ

           ๑. โครงการสร้างอาชีพสร้างรายได้ด้วยการแพทย์แผนไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 256๖

           ๒. โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน

           ๓. โครงการปันสุขผู้สูงวัยสายสายใยกาฬสินธุ์ ๔.๐

           ๔. โครงการพัฒนาศักยภาพคนพิการและองค์กรเครือข่ายคนพิการจังหวัดกาฬสินธุ์

           ๕. โครงการพัฒนาระบบกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์ สู่สังคมไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

           ๖. เสริมสร้างการรับรู้เยาวชนด้านการปูองกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยสูงในจังหวัดกาฬสินธุ์

           ๗. โครงการ “ด่านครอบครัว รั้วชุมชนแห่งความปลอดภัย”

           ๘. โครงการฝึกทบทวนชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

           ๙. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแนวทาง TO BE NUMBER ONE จังหวัดกาฬสินธุ์

    ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

           ๑0. โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครคุมประพฤติเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนอย่างมืออาชีพ

           11. โครงการส่งเสริมสร้างสังคมสงบสุข

           12. ป้องกันความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

           13. ยุติธรรมสร้างสุขลดความเหลื่อมล้ำ เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ

      ประชาชน

           14. โครงการยกระดับเพื่อเพิ่มศักยภาพฝีมือและสมรรถนะแรงงาน

           15. โครงการพัฒนายุวเกษตรกรอัจฉริยะยุคใหม่ก้าวทันในศตวรรษที่ 21 (Young Smart Famer )

           16. โครงการหลักสูตรเชื่อมโยงการศึกษากาฬสินธุ์แซนด์บ็อกซ์ (Continuous and Linking Curriculum

      Sandbox)

           17. โครงการส่งเสริมพัฒนาการสมวัย และสร้างภูมิคุ้มกันเด็กปฐมวัยกาฬสินธุ์

           18. โครงการพัฒนากาฬสินธุ์ เป็นสังคมมั่นคง สงบสุข ลดความเหลื่อมล้ำ หลุดพ้นความยากจน พึ่งตนเองได้

           19 ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ

เป้าประสงค์
ตัวชี้วัด (KPI)
ฐานข้อมูล

อ้างอิง
ค่าเป้าหมาย (Target)
2566
2567
2568
2569
2570
๑.ประชากรของ

จังหวัดได้รับ

การพัฒนาทุน

มนุษย์ในทุก

ช่วงวัย
๑.ดัชนีความก้าวหน้าของ

คน (HAI) ด้านสุขภาพ

เพิ่มขึ้นปีละ ๐.๐๑
๐.๕๕๘๖
0.598
0.608
0.618
0.628
0.638
๒.ประชาชนมีความปลอดภัย

ในชีวิตและ

ทรัพย์สิน
๒.ดัชนีความก้าวหน้าของ

คน (HAI) ด้านการศึกษา

เพิ่มขึ้นปีละ ๐.๐๑
๐.๓๑๘๑

0.358
 
0.368
 
0.368
๓. ครัวเรือนยากจน

โครงการกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใคร

ไว้ข้างหลัง หลุดพ้นความ

ยากจน พึ่งตนเองได้

๔.ร้อยละของฐานความผิด

เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และ

เพศ (ภาพรวม)
92.37

11

ร้อยละคดี

ที่จับกุมได้

ต่อคดีที่ได้รับแจ้ง

92.87
92.97
93.07

 
93.17
93.27
 

     3) แนวทางการพัฒนา

              แนวทางการพัฒนาที่ ๑ สนับสนุนความเข้มแข็งของการใช้กลไก พชอ.ในการบูรณาการงานเชิงพื้นที่

                       ๑.๑ ส่งเสริมให้คณะกรรมการพัฒนา พชอ. ตามแนวทาง พชอ. คุณภาพ

                       ๑.๒ บูรณาการความร่วมมือ พัฒนาเด็กให้เป็นเด็กดี มีพัฒนาการสมวัย

               แนวทางการพัฒนาที่ ๒ พัฒนาทุนมนุษย์ ช่วงวัยปฐมวัย วันรุ่น วัยเรียน

                      ๒.๑ ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาในทุกช่วงวัย

                       ๒.๒ ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                       ๒.๓ ส่งเสริมการจัดการสอนอาชีพในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

                       ๒.๔ ส่งเสริมการสร้างกลไกลกระบวนการแนะแนวงานอาชีพในสถานศึกษา

              แนวทางการพัฒนาที่ ๓ พัฒนาทุนมนุษย์ ช่วงวัยทำงาน

                       ๓.๑ พัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานใน และนอกพื้นที่

                       ๓.๒ ส่งเสริมประชาชนวัยทำงานกลุ่มเป้าหมาย ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

              แนวทางการพัฒนาที่ ๔ พัฒนาทุนมนุษย์ ช่วงวัยผู้สูงอายุ

                       ๔.๑ ยกระดับดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ

              แนวทางการพัฒนาที่ ๕ การรักษาความสงบเรียบร้อยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ (น้ำท่วม/น้ำแล้ง)

                       ๕.๑ ป้องกันอาชญากรรมโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

                       ๕.๒ ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ

                       ๕.๓ พัฒนาเทคโนโลยีในการเฝ้าระวังภัยพิบัติ

                       ๕.๔ ส่งเสริมให้ อปท. มีการดำเนินการป้องกันเด็ก 0-15 ปี จากการจมน้ำ

              แนวทางการพัฒนาที่ ๖ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

                       ๖.๑ ยกระดับยุทธการฟ้าแดดสงยาง

                       ๖.๒ เร่งรัดดำเนินงานตามมาตรการหมู่บ้านสีขาว

              แนวทางการพัฒนาที่ ๗ ป้องกันและแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ และการทุจริตและประพฤติมิชอบ

                       ๗.๑ ป้องกันการค้ามนุษย์

                       ๗.๒ ให้ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ

              แนวทางการพัฒนาที่ ๘ การลดความเหลื่อมล้ำด้านสังคม การบริการด้านสุขภาพ และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสร้างความมั่นคงของมนุษย์

                       ๘.๑ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ

                       ๘.๒ ส่งเสริมการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน

                       ๘.๓ เร่งรัดดำเนินงานการยกระดับคนจนขั้นพื้นฐาน ตามโครงการกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

                       8.4 พัฒนาศักยภาพคนพิการ คนด้อยโอกาส และอื่นๆ

              แนวทางการพัฒนาที่ ๙ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

                       ๙.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ